วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หลวงปู่ทวด หลังยันต์



ที่มา : หลวงปู่ทวด วัดโตนดหลวง หลวงพ่อทองสุข เนื้อว่านดำ หลังยันต์นิยม  
ที่มา : http://www.dd-pra.com/pages/forum/detail.aspx?id=22481


ข้อมูลองค์นี้
ตำหนิ พระทั้งสององค์อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เก่าตามเวลา
ประเภท พระเนื้อว่าน
ขนาด  2 ซม.

เพิ่มเติมหลวงปู่ทวด หลังยันต์

เพื่อนๆคนไหนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยเล่าสู่กันฟังด้วยนะครับ ...

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พระกรุนาดูน พุทธศิลปะทวารวดี




พระกรุนาดูน หรือ พระกรุพระธาตุนาดูน พุทธศิลปะทวารวดี

พระกรุนาดูน หรือ พระกรุพระธาตูนาดูนการโจรกรรมพระพิมพ์กรุโบราณ อายุเก่าแก่กว่า 1,200 ปี ที่รู้จักกันในชื่อ พระกรุนาดูน หรือ พระกรุพระธาตุนาดูน และสามารถได้พระไปจำนวนกว่า 90 ชิ้น จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น จ.ขอนแก่น นั้น ทำให้มีผู้ให้ความสนใจและไถ่ถามกันถึงเรื่องราวความเป็นมาของพระกรุนี้กันอย่างคึกคัก

พระกรุนาดูน หรือ พระกรุพระธาตุนาดูน ที่คนร้ายโจรกรรมไปนั้น เป็นพระที่รู้จักกันกว้างขวางในหมู่นักเล่นพระและ ผู้นิยมสะสมพระเครื่อง โดยแตกกรุในปี พ.ศ. 2522 ที่ ต.นาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ซึ่งกรมศิลปากรร่วมกับราษฎรได้ช่วยกันขุดค้นบูรณะบริเวณท้องนาของชาวบ้าน โดยพบหลักฐานว่าเป็นแหล่งโบราณคดีมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 มีร่องรอยของเมืองโบราณยุคทวารวดี เรียกกันโดยทั่วไปว่า นครจัมปาศรี

ในการขุดค้นครั้งนั้น มีการพบโบราณวัตถุ ตลอดจน พระพุทธรูปพระพิมพ์ ศิลปะทวารวดี จำนวนมากมายหลายชิ้น ที่สำคัญก็คือพบพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุในผอบ ประดิษฐานในองค์พระสถูปทรงระฆังจำลองสูง 24.4 เซนติ เมตร สามารถถอดแยกได้เป็นสองส่วน ซึ่งต่อมามีการจัดสร้างเป็นองค์พระธาตุนาดูนขึ้น และพบพระพิมพ์ดินเผาที่เป็นส่วนผสมระหว่าง ดิน เหนียว ศิลาแลง แกลบ ทราย และกรวด จำนวนหนึ่ง พระพิมพ์ที่พบส่วนใหญ่ จะแสดงให้เห็นถึงศิลปะทวารวดีอันเป็นรากฐานการเผยแพร่พระพุทธศาสนาคติหินยาน ในบริเวณสุวรรณภูมิอย่างชัดเจน

องค์พระส่วนมากจะเป็นพระแผง ซึ่งหมายถึง พระพิมพ์ขนาด เขื่องใหญ่กว่าฝ่ามือ และมีองค์พระพุทธปรากฏอยู่หลายองค์ ศิลปะแสดงให้เห็นอิทธิพลของมอญทวารวดีที่เผยแพร่จากภาคกลางและกระจายตัวอยู่ ในแถบภาคอีสาน แสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาอย่างเด่นชัด มีการพบพระพิมพ์ต่างๆ ที่เรียกกันว่า กรุนาดูน ถึง 40 กว่าพิมพ์ บ้างทำเป็นองค์พระพุทธรูปนั่งบนบัลลังก์ ที่เรียกกันว่าพระนั่งเมือง บ้างทำเป็นพระพุทธรูปยืน ในลักษณาการตริภังค์ อันหมายถึงการผ่อนคลายอิริยาบถสามส่วน ได้แก่ การหย่อนไหล่ การหย่อนสะโพก และการหย่อนหัวเข่า ปรากฏในรูปพระลีลา

นอกจากนี้ยังมี พระนาคปรก มีทั้งปรกคู่และปรกเดี่ยว บางครั้งพบว่ามีการนำพระแผงมาตัดให้เล็กลงเหลือเฉพาะองค์ก็มี การพบพระกรุนาดูนในระยะแรกนี้นั้น ปรากฏว่ามีพระจำนวนมากที่ชาวบ้านแห่พากันเข้ามาขุดค้น จึงทำให้พระกรุนาดูนแพร่ หลายเข้าสู่วงการพระและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง บางส่วนกรมศิลปากรได้เก็บรวบรวมไว้ และเนื่องจากเห็นว่า ขอนแก่นเป็นจังหวัดใหญ่ และมีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่มีความแน่นหนาและมั่นคง จึงเก็บรวบรวมพระนาดูนจำนวนหนึ่งไว้ที่ขอนแก่น แต่แล้วก็มาถูกโจรกรรมชนิดกวาดเกลี้ยงทั้งกรุ สร้างความเสียดายในการสูญเสียสมบัติสำคัญของชาติเป็นอย่างยิ่ง

ในราวปี พ.ศ.2540 ก็มีข่าวว่ากรุนาดูนแตกส่งผลให้ชาวบ้านแห่กันเข้าไปขุดหาพระกรุนี้กันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสำหรับสนนราคาของพระกรุนาดูน ต.นาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคามนั้น แม้ว่าจะเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางเนื่องจากมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และมีพุทธศิลปะทวารวดีที่ มีลักษณะเฉพาะตัว แต่เนื่อง จากองค์พระมีขนาดเขื่อง และปรากฏในรูปของพระแผงจึงทำให้ราคาไม่สูงมากนัก ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับหลักพันถึงหลักหมื่น แต่พุทธคุณซึ่งขึ้นชื่อทางด้านแคล้วคลาดและเมตตามหานิยมทำให้มีผู้สนใจเสาะ แสวงหามาเก็บสะสมพอสมควร บางครั้งถึงขนาดทำเทียมเลียนแบบขึ้นมาด้วย

พระกรุนาดูน หรือ พระกรุพระธาตุนาดูน นับเป็นหลักฐานทางประวัติ ศาสตร์ที่สำคัญโดยเฉพาะการแสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาซึ่งน่า เสียดายเป็นที่ยิ่ง เพราะเราไม่อาจประเมินราคาของมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมเป็นมูลค่าทางเงินตรา ได้ พูดได้สั้นๆ ว่า น่าเสียดายเป็นที่ยิ่ง..ครับผม

ที่มา : http://www.itti-patihan.com




 ข้อมูลองค์นี้
ตำหนิ มีผงสีขาวขึ้นเต็มองค์ มีธาตุผุดให้เห็น
ประเภท พระเนื้อธาตุ
ขนาด 3 ซม.

เพิ่มเติมพระกรุนาดูน พุทธศิลปะทวารวดี

เพื่อนๆคนไหนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยเล่าสู่กันฟังด้วยนะครับ ...

พระลีลาสองหน้า


 พระลีลาสองหน้า



 ข้อมูลองค์นี้
ตำหนิ มีรอยร้าวที่องค์พระหน้าหนึ่ง
ประเภท พระเนื้อชิน
ขนาด 4.25 ซม.


ยังหาข้อมูลประวัติของพระองค์นี้ไม่เจอนะครับ ของติดไว้ก่อน ใครมีข้อมูลดีๆมาเล่นให้ฟังบ้างนะครับ ..

พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน จังหวัดกำแพงเพชร


พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน จังหวัดกำแพงเพชร

จากบันทึก ในใบลานทองที่พบในกรุ สันนิษฐานว่า พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย อายุถึงปัจจุบัน ประมาณ 700 ปีเศษ

พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน เมืองกำแพงเพชร พบจากกรุ
- วัดพระบรมธาตุ
- วัดพิกุล
- วัดทุ่งเศรษฐี

ซึ่งวัด ทั้ง 3 ดังกล่าว อยู่ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐี ฝั่งนครชุม หรือฝุ่งตะวันตกของลำน้ำปิง เมืองกำแพงเพชร จึงเรียกพระพิมพ์ต่าง ๆ รวมกันว่า พระกำแพงทุ่งเศรษฐี

พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน มีเพียงพิมพ์เดียว แต่ขนาดอาจต่างกันเป็น ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จึงไม่นิยมแบ่งแยกพิมพ์

พุทธคุณ

พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน จังหวัดกำแพงเพชร เด่นในด้านโชคลาภ แคล้วคลาด และเสริมส่งความเจริญรุ่งเรือง ไม่มีตกอับ ซึ่งนับเป็นพระกรุ ที่มีคนนิยมและศรัทธาเป็นอย่างมาก
ที่มา : http://krabentongnam2511.wordpress.com/page/38/


ข้อมูลพระองค์นี้
ตำหนิ พระสมบูรณ์พอสมควร ด้านหลังมีลายนิ้วมือคนโบราณ
ประเภท พระเนื้อผง
ขนาด 4.5 ซม. 



เพื่อนๆคนไหนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยเล่าสู่กันฟังด้วยนะครับ ...

พระขุนแผนไข่ผ่าซีก


พระขุนแผนไข่ผ่าซีก 

รายละเอียด: พระขุนแผนไข่ผ่า กรุวัดพระรูป เป็นต้นกำเนิดพระขุนแผน ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของเมืองสุพรรณ เพราะมีอายุมากกว่าขุนแผนห้าเหลี่ยมกรุวัดบ้านกร่าง


ลักษณะเป็นพระศิลปอู่ทองปนลพบุรี ประทับในซุ้มแบบพระยอดขุนพล นั่งบนฐานบัวสองชั้น พระมีสันฐานรูปไข่ผ่าครึ่งซีก หลังอูมนูน เป็นที่มาของชื่อ มีสัญลักษณ์จุดตายที่รู้กัน คือ "ตราเบนซ์" ที่ข้างพระเพลาขวาพระ องค์พระมีขนาดค่อนข้างเขื่องสักหน่อย เหมาะที่จะแขวนบูชาเดี่ยวๆ

และยังเป็นที่มาของพระ"ขุนแผนกุมารทอง" เพราะ ที่ใต้ฐานบัว บางคนก็จะมองคล้ายๆกับว่าเป็นกุมารทองนอนขวางอยู่ด้านล่าง สอดคล้องกับตำนานพอดี ทำให้คนคิดทำพระขุนแผน ที่มีกุมารทองนอนอยู่ที่ฐาน ซึ่งก็มีทั้งพระเกจิ และของที่อุปโลกษณ์ขึ้นมาก็มี

ในกรุวัดพระรูปนี้นอกจากพระขุนแผนไข่ผ่า และแตงกวาผ่าแล้วก็ยังมีพระร่วมกรุเดียวกันอีก คือ "พระชุดกิมตึ๋ง" ซึ่งประกอบด้วย พระ 4 องค์ ได้แก่ พระสี่กร มอญแปลง ประคำรอบ และปรกชุมพล นอกจากนี้ยังมีพระ พลายงาม พระยุ่ง และพระพันวษา ซึ่งการที่จะเก็บให้ครบชุดใหญ่นั้นทำได้ยากมากครับ

พระพิมพ์ชุดนี้นอกจากที่วัดพระรูปแล้ว ยังมีการพบจากอีกหลายๆวัดในจังหวัดสุพรรณฯ ได้แก่วัดละคร วัดพลายชุมพล วัดพระศรีรัตนธาตุในตำราว่ามีเช่นกัน พบที่เจดีย์ข้างพระปรางค์เมื่อราวปี 2492-2493 มีจำนวน 4-500 องค์ 
ที่มา : http://www.myamulet.com/product.detail_18162_th_277404



ข้อมูลองค์นี้
ตำหนิ มีลอยเนื้อถลอกที่หน้าผาก
ประเภท พระเนื้อผง
ขนาด 5 ซม. (2 นิ้ว)

เพิ่มเติม พระขุนแผนไข่ผ่าซีก

เพื่อนๆคนไหนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยเล่าสู่กันฟังด้วยนะครับ ...